หากท่านเป็นผู้หนึ่งที่สนใจ หาบ้านหลังใหม่ บ้าน บ้านมือสอง ที่มีความเจริญ คมนาคม ทีมีชุมชน เพื่อนบ้านที่ท่านสามารถเลือกได้เหมือน โปรโมชั่น ดีๆๆๆ บ้านจัดสรรโครงการต่าง ๆ
ProProperty ขอแนะนำ " วิธีซื้อบ้าน บ้านมือสอง อย่างไรให้คุ้ม"
ขึ้นชื่อว่า "มือสอง" ก็คือ ของที่ผ่านการใช้งานมาแล้วผ่านมือคนอื่นมาแล้ว เพราะฉะนั้นอย่าคาดหวังว่า "อะไรๆ" จะเป็นอย่างที่หวังแต่สำหรับ"บ้านมือสอง" กลับเป็นอีกทางเลือกที่ดีสำหรับคนที่ฝันอยากจะมี "บ้าน" เป็นของตัวเองสักหลัง โดยเฉพาะคนที่มีกำลังซื้อจำกัดแต่ต้องการอยู่ในทำเลที่คนซื้อบ้านใหม่ต้องอิจฉา
เพราะ "บ้านมือสอง" กระจายอยู่ตามพื้นที่ต่างๆบางพื้นที่ลูกค้าไม่มีโอกาสที่จะเห็นบ้านขณะที่ราคาบ้านมือสองถูกกว่าบ้านใหม่เพราะผู้ขายส่วนใหญ่จะถูกกดดันเป็นพิเศษและรุนแรง เช่นกำลังจะถูกฟ้องบังคับจำนองหรือต้องการย้ายที่อยู่ใหม่
แต่ก่อนจะตัดสินใจเลือกจะต้องตรวจสอบอย่างละเอียดและพิถีพิถันสักหน่อยและต้องท่องคาถา "ตาดีได้ ตาร้ายเสีย" ไว้ให้ขึ้นใจ ถ้าเลือกอย่างดีจะได้บ้านคุณภาพดีราคาสมเหตุสมผล แต่ถ้าไม่รอบคอบพออาจจะต้องมานั่งน้ำตาตกในภายหลังช่องทางมองหาบ้านมือสองที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันมีอยู่ 4 แหล่งใหญ่ๆที่จะมีข้อดี ข้อเสีย และข้อควรระวังแตกต่างกันไปคือ
1. การซื้อกับเจ้าของโดยตรง
|
การซื้อกับเจ้าของโดยตรงดูจะเป็นวิธีดั้งเดิมและง่ายที่สุดในการเจรจาซื้อขาย โดยเฉพาะการต่อรองราคาทั้งยังมั่นใจไดว่า ผู้ซื้อจะได้เข้าพักอาศัยโดยไม่ต้อง "อาศัยอำนาจศาล" เพื่อขับไล่เจ้าของเดิม แต่อย่างน้อยผู้ซื้อควรตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่าความเต็มจขายของเจ้าของเดิมจะไม่ได้มาจากปัญหาที่เกิดจากตัวบ้านจนต้องยอมขาย
นิติกรรมสัญญาเป็นสิ่งที่ต้องระมัดระวังมากที่สุดเพราะทั้งสองฝ่ายจะต้องดำเนินการเรื่องสัญญาเองทั้งหมดซึ่งในบางกรณีหากไม่มีการตรวจสอบอย่างรอบคอบ ก็อาจจะกลายเป็นปัญหาใหญ่ได้ในอนาคตโดยอาจขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญจะสะดวกและสบายใจมากขึ้นทั้งยังต้องตกลงค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในแต่ละขั้นตอนอย่างชัดเจนว่าใครจะเป็นคนจ่ายในส่วนไหน อย่างไรบ้างและหากผู้ขายต้องการให้ผู้ซื้อออกค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ผู้ซื้ออาจขอลดราคาบ้านลงได้อีก
.gif)
การซื้อผ่านนายหน้านอกจากมีบ้านให้เลือกจำนวนมาก แบ่งแยกตามพื้นที่ ราคา ไว้ได้ตรงใจผู้ซื้อทำให้ไม่ต้องเสียเวลามากนัก และเชื่อได้ระดับหนึ่งว่าบ้านมือสองที่อยู่ในมือของบริษัทเหล่านี้จะได้รับการคัดสรรและกรองมาระดับหนึ่งแล้วและ "ตัวแทน" จะเป็นคนดำเนินเรื่องเกือบทุกอย่างให้ ตั้งแต่พาไปดูบ้านที่เลือกไว้เจรจาราคา จัดการสัญญา เงินกู้ธนาคาร แต่ต้องมีค่านายหน้า ประมาณ 3% ของ ราคาขายซึ่งปกติผู้ขายจะเป็นคนจ่าย แต่ในขั้นตอนการทำสัญญาต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าเรากำลังทำสัญญาแลวางเงินมัดจำกับ "เจ้าของบ้านตัวจริง" หรือไม่เพราะฉะนั้นอย่าลืมขอดูบัตรประชาชนและชื่อหลังโฉนดก่อนจะตกลงปลงใจ
.jpg)
.jpg)
3. สินทรัพย์รอการขายของสถาบันการเงิน
|
สินทรัพย์รอการขายของสถาบันการเงินเป็นอีกแหล่งหนึ่งที่ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆเพราะนอกจากจะมีบ้านให้เลือกจำนวนมากและราคาต่ำกว่าราคาตลาดแล้วการขอสินเชื่อยังจะสะดวกและดอกเบี้ยอาจต่ำกว่าการซื้อบ้านจากแหล่งอื่นๆเนื่องจากธนาคารเจ้าของทรัพย์สินจะให้สินเชื่อเองและบางแห่งจะยกเว้นค่าธรรมเนียมหรืออำนวยความสะดวกอื่นๆ แต่ต้องยอมรับว่าบ้านมือสองที่อยู่ในมือสถาบันการเงินบางหลังอาจจะชำรุดทรุดโทรมกว่าบ้านในมือของบริษัทนายหน้าหรือบ้านที่เจ้าของขายเอง
เพราะฉะนั้นเพื่อให้แน่ใจว่านอกจากจะได้ดอกเบี้ยพิเศษแล้วจะไม่มีลูกบ้านคนพิเศษมาอยู่ในชายคาเดียวกันก็ต้องตรวจสอบให้มั่นใจว่าไม่มีใครยังอยู่ในบ้านหลังนั้นหรือถ้ายังมีคนอยู่ควรให้ธนาคารจัดการให้เรียบร้อยก่อนที่จะตกมาถึงมือเราและถ้าให้มั่นใจที่สุดจะต้องให้ธนาคารมีชื่อเป็นเจ้าของโฉนดให้เรียบร้อยเสียก่อนจะได้ไม่ต้องเสียเวลา "ฟ้องขับไล่" ในภายหลัง
 |
ประมูลจากกรมบังคับคดี มีขั้นตอนและกระบวนการมากแต่จะมีราคาเป็นตัวจูงใจ เพราะราคาเริ่มต้นจากการประมูลนี้อาจต่ำกว่าราคาตลาดได้ถึง 50% แต่ก่อนที่จะเข้าร่วมประมูลจะต้องไปดูบ้านและประเมินราคาที่พร้อมจะสู้ไว้ล่วงหน้าจะได้ไม่ถูก "ใคร" กระตุ้นให้สู้ราคาจนเกินกำลังเงินและเกินมูลค่าบ้านและที่ต้องระวังที่สุด คือ การฟ้องขับไล่แม้ว่าจะอาศัยอำนาจศาลให้ผู้บุกรุกออกจากบ้านได้ทันที แต่ก็ไม่รู้ว่าจะใช้เวลานานแค่ไหนที่ "ผู้บุกรุก" จะยอมออกจากบ้านไปและอีกเรื่องที่มองข้ามไม่ได้คือ "การฟ้องคัดค้านราคา" ซึ่งตามกระบวนการทางกฎหมายจะให้สิทธิลูกหนี้คัดค้านราคาได้ครั้งหนึ่ง
ในกรณีที่เป็นการประมูลของเอกชนก่อนเข้าร่วมประมูลยังต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่า ผู้ประมูลเป็น "เจ้าของทรัพย์" หรือมีสิทธิขายทรัพย์